/home/nswgoth/domains/web.nsw1.go.th/public_html
Linux ns79.hostinglotus.net 4.18.0-513.11.1.el8_9.x86_64 #1 SMP Wed Jan 17 02:00:40 EST 2024 x86_64
ขับเคลื่อนบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา รุ่น 2
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 08.30 น. ว่าที่ร้อยเอก ดร.สาโรช ยกให้ ผู้อำนวยการ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 มอบหมายให้ ดร.อภิเชษฐ์ ฉิมพลีสวรรค์ รองผู้อำนวยการ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา รุ่นที่ 2 โดยมี ดร.สุรเดช น้อยจันทร์ ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการอบรมพัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในสังกัด ให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ส่งเสริมกระบวนการคิดให้กับผู้เรียน ตามแนวทางของโครงการ เพื่อชี้แจงโรงเรียนในสังกัดให้โรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะในศตวรรษที่ 21 และขอรับการประเมินเพื่อรับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับประถมศึกษา ในปีการศึกษา 2566 มีผู้เข้าอบรม จำนวน 20 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความสนใจและมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การพิจารณา คณะวิทยากร ประกอบด้วย คือ 1) นายสถาพร สมอุทัย ศึกษานิเทศก์ 2) น.ส.นันทรัตน์ คงคะชาติ ครู โรงเรียนวัดสันติธรรม 3) น.ส.ทิวาพร พุทธิ ครู โรงเรียนวัดสวรรค์ประชากร 4) นายพิสิฐธ์ชัย หังสพฤกษ์ ครู โรงเรียนบ้านซับผักกาด 5) นางนพรัตน์ เจริญศิลป์ ข้าราชการบำนาญ อดีต ครู โรงเรียนวัดหัวดงใต้ 6) นางกันตินันท์ การวิง ครู โรงเรียนอนุบาลเมืองนครสวรรค์ (เขากบ วิวรณ์สุขวิทยา) ณ ห้องประชุมศรีนครสวรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โครงการ “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย โดยที่มาของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย มาจากการประเมินผลของโครงการ PISA พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ งานวิจัยยืนยันว่า เราควรสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) เพราะเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด โครงการได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ซึ่งปี พ.ศ. 2552 ปี 2553 โครงการได้ผนึกกำลังหน่วยงาน 8 พันธมิตรร่วมดำเนินโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้แก่ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) บริษัท บี.กริม บริษัทนานมีบุ๊คส์ จำกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) (นันทนา อัมระนันทน์ นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ สพป.นครสวรรค์ เขต 1 : ข่าว/ภาพ) https://www.facebook.com/media/set/?vanity=100064883072339&set=a.659854592853971